วันที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น.
เจ้าหน้าที่จาก สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ เดินทางมารับตัวอย่างปลาเกร็ดขาว ในพื้นที่ฮ่าเภอบาหมื่น ซึ่งเก็บจากแม่น้ำต่างๆ ทั้ง 4 ตำบล นำไปตรวจหาพยาธิไบ้ไม้ตับ เพื่อนำไปสู่การป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับต่อไป ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ทุกสถานบริการ ที่ให้ความร่วมมือในการจัดหาปลา และขอขอบคุณประชาชนที่ตระหนักรู้ในการป้องกันตนเอง ผลการตรวจปลา จะใช้เป็นข้อมูลในการป้องกับแลควบคุมโรคต่อไป
3 มิถุนายน 2567
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯพระบรมราชินี นางศรัจจันทร์ อุดมแก้วกาญจน์ และ คณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอนาหมื่น ร่วมกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติๆ
เวลา 07.00 น. พิธีทำบุญตักบาตร ณ.วัดนาทะนุง
เวลา 09.30 น. กิจกรรมจิตอาสา พัฒนาสิ่งแวดล้อม ณ อบต.นาทะนุง
เวลา 18.00 น. พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอนาหมื่น
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567
ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่13 มอบหมายให้ นายต่อพงษ์ จันทร์ไอภาส ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า ร่วมกับ กอ.รมน. น่าน ปกครองอำเภอนาหมื่น สาธารณสุขอำเภอนาหมื่น องค์การบริหารส่วนตำบลนาทะนง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกสังกัด อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 50 คน เข้าร่วมอบรม รับฟังการบรรยาย และระดมความคิดเห็นสร้างเครือข่ายการป้องกันปัญหาหมอกควัน และไฟป่า
วันที่ 2 พฤษภาคม 2567
นางศรัจจันทร์ อุดมแก้วกาญจน์ สาธารณสุขอำเภอนาหมื่น พร้อมทีมงาน โรงพยาบาลนาหมื่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งและ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ออกประเมินส่งเมนูอาหารวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ เพื่อรับรองเป็นเมนูชูสุขภาพของกรมอนามัย ตามเกณฑ์ของอำเภอสุขภาพดี จำนวน 6 ร้าน
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567
นางศรัจจันทร์ จุดมแก้วกาญจน์ สาธารณสุขอำเภอนาหมื่น และนางนิศานาถ สารเถื่อนแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลนาหมื่น ได้เยี่ยมการจัดบริการผู้ป่วยตามโครงการ บัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกที่ อำเภอนาหมื่น ได้เตรียมความพร้อม ข้อมูล Provider id ร้อยละ 100 ยืนยันตัวตน DID ร้อยละ 89.25 ส่วนระบบการบริการ มีจุดบริการใช้บัตรประชาชน 3 จุด ได้แก่ ห้องตรวจแพทย์ 2 จุด และห้องฉุกเฉิน 1 จุด ฝ้าย IT โรงพยาบาลกำลังสอนวิธีการเข้าใช้งานของ Provider มีแผนจัดซื้อ สมาร์ทการ์ด อีก 10 เครื่อง เพื่อกระจายใช้งานตามจุดบริการประชาชน
วันที่ 30 เมษายน 2567
รศ.ตร.ทวีวรรณ ครีสุขคำ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ร้ายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างในโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน จำนวน 642 คน พบข้อมูลการตรวจสารเคมีในเลือดไม่ปลอดภัย
ถึง ร้อยละ 66.5 และพบว่า ความรอบรู้เรื่องสุขภาพ การเข้าถึง เข้าใจ การสอบถามมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตนในเรื่องสารเคมี
ขอขอบคุณ อาจารย์ที่ปรึกษา ขอบคุณผู้ร่วมวิจัย จนท.สารารณสุขทุกสถานบริการอสม. และ ผู้บริหารท้องถิ่นที่เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอข้อมูล และจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป